^^

Welcome to Coffee In Love

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติกาแฟจากอดีตถึงปัจจุบัน

ประวัติกาแฟจากอดีตถึงปัจจุบัน



     แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศอาราเบียน หรือประเทศอาหรับ ตะวันออกกลาง สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนักจนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบียคนหนึ่งชื่อ คาลดี (Kaldi) นำแพะออกไปเลี้ยงตามปกติ แพะได้กินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งเข้าไปแล้วเกิดความคึกคะนองผิดปกติ จึงได้นำเรื่องไปเล่าให้พระมุสลิมองค์หนึ่งฟัง พระองค์นั้นจึงได้นำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มในน้ำร้อนดื่มเห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป

     ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟแพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบีย เข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส

     ชาวอาระเบียเรียกพืชนี้ว่า “คะวาฮ์” (Kawah) หรือ “คะเวฮ์” (Kaweh) ซึ่งแปลว่าพลัง (strength) หรือความกระปรี้กระเปร่า (vigor) ชาวตุรกีเรียกว่า “คะเวฮ์” (Kaveh) ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆของโลก เช่น คัฟฟี (Koffee) ในอังกฤษเรียกว่า “คอฟฟี” (coffee) อันเป็นชื่อที่รู้จักและใช้ในปัจจุบันนี้ เมื่อมาถึงประเทศไทยคนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุด...

     กาแฟเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก กาแฟเกือบทุกพันธุ์มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปแอฟริกา แต่ที่ปลูกกันแพร่หลายในเชิงธุรกิจมีเพียง 2 พันธุ์ คือ กาแฟ อาราบิก้า ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea arabica L. และ กาแฟ โรบัสต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea canephora Pierre ผลผลิตของเมล็ดกาแฟในโลกมีมากว่าหกล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นเมล็ดกาแฟ อาราบิก้ามากกว่า 70% ที่เหลือเป็นเมล็ดกาแฟ โรบัสต้าและพันธุ์อื่น ๆ

     กาแฟ อาราบิก้ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนพื้นที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย (อะบิสซีเนีย เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6-9 องศาเหนือ แต่อาจพบต้นกาแฟอาราบิก้า ตรงช่วงรอยต่อบนภูเขาระหว่างเอธิโอเปียกับซูดาน และเอธิโอเปียกับเคนยา ในเอธิโอเปียสามารถพบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญงอกงามอยู่ทั่วไป ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่บนพื้นที่สูง ระหว่าง 1,370 -1,830 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพอากาศในแถบนั้น ค่อนข้างหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี อยู่ระหว่าง 15-24 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,900 มิลลิเมตร สภาพดินเป็นดินร่วนสีแดง มีหน้าดินลึก สภาพอากาศโดยทั่วไปในแถบนี้ มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งมีพร้อมๆ กับฤดูหนาว

      ในยุคเริ่มต้นของกาแฟอาราบิก้า ประวัติและความเป็นมาค่อนข้างสับสน เพราะมีผู้พบเห็นต้นกาแฟอาราบิก้าเจริญงอกงามอยู่ทั่วไปใต้ต้นอินทผาลัม แถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่จากการศึกษาและสำรวจ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญในด้านกาแฟอาราบิก้าของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมมือกัน ภายใต้ความช่วยเหลือขององค์กรระหว่างประเทศ สรุปว่า ในสมัยโบราณ ชาวเขาบางเผ่า ที่อาศัยอยู่บนที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย ได้อพยพขึ้นเหนือมายังตะวันออกกลาง ได้นำเมล็ดกาแฟติดตัวมาด้วย และได้ปลูกไว้ตามเชิงเขา ชาวเขาเหล่านี้ ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้าผสมกับไขสัตว์ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ใช้เป็นอาหารเวลาเดินทางไกล

     ต่อมาเมื่อชาวเปอร์เซียเรืองอำนาจ ได้ขยายอาณาจักรมาสู่ตะวันออกกลาง ได้ขับไล่ชาวเขาเหล่านี้กลับสู่ป่าเอธิโอเปียดังเดิม ส่วนต้นกาแฟอาราบิก้ายังคงเจริญงอกงาม และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติต่อๆกันมาแถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่มีบางกระแสเชื่อว่า ในศตวรรษที่ 15 นักเดินทางชาวอิสลามได้นำต้นกาแฟอาราบิก้าจากเอธิโอเปียมาปลูกไว้ ที่อาราเบีย ชาวดัชท์ได้เดินทางมายังอาราเบียในศตวรรษที่ 16 ได้พบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญอยู่ทั่วไป จึงนำเมล็ดกาแฟไปเพาะและปลูกไว้ ตามแหล่งอื่นๆของโลก

     ในศตวรรษที่ 17 นักแสวงบุญอิสลาม ชาวอินเดีย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากประเทศเยเมน มาปลูกไว้ตามเชิงเขาของรัฐคาร์นาตากา ในประเทศอินเดีย และชาวฝรั่งเศสได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า จากอาราเบียไปปลูกที่เมืองเบอร์บอง เกาะรี-ยูเนียน กาแฟอาราบิก้าจากแหล่งปลูกเหล่านี้ ได้แพร่กระจากไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลามากกว่า 2 ศตวรรษ

     ประเทศที่ปลูกและให้ผลผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ได้แก่ บราซิล รองลงมา คือ โคลัมเบีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ
   
     ประเทศไทย มีผลผลิตกาแฟประมาณ 80,000 – 100,000 ตัน / ปี สัดส่วนการบริโภคภายในประเทศประมาณ 30,000 ตัน และอีก 70,000 ตันส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา , แคนาดา , สเปน , เยอรมัน , อิตาลี , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น ฯลฯ *ปีพ.ศ. 2540 ประเทศไทยสามารถส่งออกกาแฟได้จำนวน 73,286 ตัน ( * ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ ตัวเลขการส่งออกกาแฟตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2540 )

     ปัจจุบันกาแฟ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมหลัก และมีการซื้อขาย (Trade) กาแฟในอีกหลากหลายรูปแบบ (Commodity) เป็นอันดับสองรองจากปิโตรเลียม (Petroleum)

     สำหรับการเดินทางของกาแฟมายังเมืองไทยนั้น ในปี 2447 โดยนายดีหมุน ผู้นับถือศาสนา อิสลาม และนำเมล็ดกาแฟโรบัสต้า จากเมืองเมกกะวาอุอาระเบีย มาปลูกที่ตำบนโตนด อำเภอสะบ้าย้อยหัวเมือง สงขลา ส่วนสายพันธ์กาแฟอราบิก้า นั้นเข้ามาในปี2549 นำมาปลูกทางตอนเหนือของประเทศไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น