^^

Welcome to Coffee In Love

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มอคคา เชค

ส่วนผสม

  • เอรสเพรสโซ 1 ชอต ปริมาณน้ำกาแฟ  2  1/2  ออนซ์ 
  • ครีมเทียม                                     2         ช้อนชา
  • น้ำตาลทราย                                 1         ช้อนโต๊ะ
  • นมข้นหวาน                                  3         ช้อนโต๊ะ
  • น้ำหวานรสช๊อกโกแลต                    0.5      ออนซ์
  • นมสด                                         2         ออนซ์
  • น้ำแข็ง                                        1         แก้ว

วิธีชง

ผสมส่วนผสมทั้งหมดรวมกัน นำไปปั้น เสร็จแล้วเท่ใส่แก้ว บีบวิปปิ้งครีมให้สวยงาม ตกแต่งด้วยซอลช็อกโกแลต



ไอซ์ อัลมอนด์ ลาต้า

ส่วนผสม

  • เอสเพรสโซ 1 ชอต ปริมาณน้ำกาแฟ     2 1/2    ออนซ์
  • น้ำเชื่อม                                         1/2       ออนซ์
  • น้ำหวานรสอัลมอนด์                          1/2       ออนซ์
  • นมสด                                            3          ออนซ์
  • น้ำแข็ง                                           1          แก้ว
  • โฟมนม

 

วิธีชง

ชงกาแฟใส่ถ้วยตวง เติมน้ำเชื่อมและน้ำหวานรสอัลมอนด์เท่นมสด ใช้ช้อนคนให้ส่วนผสมละลาย เท่ใส่ถ้วยน้ำแข็งปิดด้วยโฟมนม

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไอซ์ ออเรนจ์ มอคคา ลาเต้

ส่วนผสม

  • เอสเพรสโซ 1 ชอต ปริมาณน้ำกาแฟ  2  1/2  ออนซ์
  • น้ำหวานรสช็อกโกแลต                   1/4      ออนซ์
  • น้ำหวานกลิ่นส้ม                            1/2      ออนซ์
  • น้ำเชื่อม                                      1         ช้อนชา
  • นมข้น                                         2         ออนซ์
  • น้ำแข็ง                                        1         แก้ว

วิธีชง

ชงกาแฟใส่ถ้วยตวง เติมน้ำเชื่อมและน้ำหวานกลิ่นส้ม กับน้ำหวานรสช็อกโกแลต นมสด ใชช้อนคนให้ส่วนผสมเข้ากันเทใส่แก้ว ขั้นสุดท้ายบีบวิปปิ้งครีมตกแต่งด้วยซอสช็อกโกแลตและเมล็ดกาแฟตามใจชอบ


วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไอซ์ คาราเมล ลาเต้

ส่วนผสม

  • เอสเพรสโซ 1 ชอต ปริมาณน้ำกาแฟ   2 1/2   ออนซ์
  • น้ำเชื่อม                                                1/2      ออนซ์
  • น้ำหวานรสคาราเมล                             1/2     ออนซ์
  • นมสด                                                   3         ออนซ์
  • น้ำแข็ง                                                  1         แก้ว
  • โฟมนม

วิธีชง

ชงกาแฟใส่ถ้วยตวง ปรุงส่วนผสมทั้งหมดรวมกัน ใช้ช้อนคนให้ส่วนผสมละลาย ขั้นตอนสุดท้ายปิดด้วยโฟมนมให้ล้นแก้ว เพื่อให้ดูสวยงาม เทใส่แก้วทรงสูง


กาแฟดำ

ส่วนผสม

  • เอสเพรสโซ 1 ชอต ปริมาณน้ำกาแฟ    5    ออนซ์
  • น้ำตาลทราย                                          3   ออนซ์
  • น้ำแข็ง                                                   1   แก้ว

วิธีชง

ชงเอสเพรสโซใส่ถ้วย ใส่น้ำตาลทราย ใช้ช้อนคนส่วนผสมให้เข้ากันจนน้ำตาลทรายละลาย เทใส่แก้วน้ำแข็ง เสิร์ฟพร้อมนมสดเย็น


คาปูชิโน

ส่วนผสม

  • เอสเพรสโซ 1 ชอต ปริมาณน้ำกาแฟ          2     ออนซ์
  • สตรีมนมเย็น                                                4    ออนซ์

วิธีชง

ตักผงกาแฟที่บดแล้วใส่ช้อนตวง 1 ช้อนเต็ม ปริมาณ 10 กรัม เท่ใส่ด้ามชงใช้แรงดันแรง ๆ 2-3 ครั้ง เพื่อให้กาแฟแน่น เวลาชงน้ำกาแฟจะทำให้น้ำไหลช้ากาแฟที่ชงจะมีความเข้มข้นและมีฟองที่หนาสวยงาม ชงเอสเพรสโซใส่ถ้วยเซรามิก สตรีมนมเย็นเสร็จเทลงบนถ้วยเบา ๆ จนเต็มถ้วย โรยผงโกโก้แต่งให้สวยงาม

กาแฟ เอสเพรสโซ

ส่วนผสม

  • เอสเพรสโซ 1 ชอต ปริมาณน้ำกาแฟ        2    ออนซ์

วิธีชง

ตักผงกาแฟที่บดแล้วใส่ช้อนตวง 1 ช้อนเต็ม ปริมาณ 10 กรัม เทใส่ด้ามชง (Holder) ใช้แรงกดแรง ๆ 2-3 ครั้งเพื่อให้กาแฟแน่น เวลาชงน้ำกาแฟจะทำให้น้ำไหหลช้า กาแฟที่ชงจะมีความเข้มข้นและมีฟองที่หนาสวยงาม


กาแฟ อเมริกาโน

ส่วนผสม

  • เอสเพรสโซ 1 ชอต  ปริมาณน้ำกาแฟ    3   ออนซ์
  • น้ำร้อน                                                   3   ออนซ์

วิธีชง

เตรียมน้ำร้อนใส่แก้วปริมาณ 3 ออนซ์ ชงเอสเพรสโซ 1 ชอต เทลงในแก้วน้ำร้อนที่เตรียมไว้พร้อมเสิร์ฟ


กาแฟ ลาเต้

ส่วนผสม


  • เอสเพรสโซ 1 ชอต  ปริมาณน้ำกาแฟ   1   1/2    ออนซ์
  • สตรีมนมเย็น                                          4            ออนซ์

วีธีชง

ตักผงกาแฟที่บดแล้วใส่ช้อนตวง 1 ช้อนเต็ม ปริมาณ 10 กรัม เทใส่ด้ามชงใช้แรงดันกดปานกลาง ชงเอสเพรสโซใส่ถ้วย สตรีมนมให้ได้เนื้อฟองเนียน เทลงในถ้วยกาแฟเบา ๆ ให้เสมอขอบถ้วย ตกแต่งให้สวยงาม


กาแฟ มอคคา

ส่วนผสม

  • เอสเพรสโซ 1 ชอต
  • ปริมาณน้ำกาแฟ    1  1/2  ออนซ์
  • สตรีมนมเย็น          4         ออนซ์
  • น้ำเชื่อมช็อกโกแลต  1/2  ออนซ์

วิธีชง 

ใส่น้ำเชื่อมช็อกโกแลตลงในถ้วยชง ชงเอสเพรสโซลงในถ้วยเดียวกับน้ำเชื่อมช็อกโกแลต ใช้ช้อนคนให้เข้ากัน เมื่อเป่านมเสร็จแล้วใช้ปลายช้อนกั้นโฟมนมไว้แล้วค่อย ๆ เทลงในถ้วยจนใกล้เต็มจึงปล่อยฟองนมลงบนถ้วยปริมาณเล็กน้อย


ลาเต้อาร์ต (Latte Art)

ต้นกำเนิดของ Latte Art 

    คำว่าลาเต้ (Latte) มาจากภาษาอิตาลี แปลว่า “นม” ถ้าเราไปที่อิตาลีแล้วสั่งกาแฟว่า Latte เราจะได้รับนมสดร้อน 1 แก้ว แต่ในประเทศอื่นจะเป็นที่เข้าใจในฐานะกาแฟใส่นมหรือมีชื่อเต็มๆ ของลาเต้ คือ “caffè e latte”แต่มักจะนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า Latte และอีกชื่อที่ใกล้เคียงกันก็คือ “café au lait” เป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งหมายถึงกาแฟใส่นมเช่นกัน

    Latte Art เกิดขึ้นครั้งแรกที่อิตาลี ประเทศที่เป็นต้นกำเนิดวัฒนธรรมการทานกาแฟนั่นเอง ด้วยความที่อิตาลีเป็นเมืองแห่งศิลปะ Barista ของที่นี่เป็นผู้ที่มีวัยวุฒิและมีประสบการณ์อย่างมาก เมื่อเราไปที่ร้านกาแฟที่อิตาลี เราจะไม่ค่อยพบวัยรุ่นทำงานชงกาแฟสักเท่าไหร่ และด้วยความที่คนที่อิตาลีเป็นพวกที่มีศิลปะอยู่ในหัวใจ ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรเป็นศิลปะไปหมด ทำให้ Barista เองก็เกิดความคิดในการสร้างลวดลายบนเครื่องดื่มกาแฟขึ้นมาเช่นกัน ด้วยการเทฟองนมลงไปในกาแฟดำ สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้ามากมาย จากนั้นLatte Art ก็เริ่มเป็นที่แพร่หลายไปทั่วยุโรป อเมริกาและส่วนอื่นๆ จนกลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก



 Latte Art (ลาเต้อาร์ต)

1. แบบ Free pour หรือการเทอิสระ

เทคนิคนี้ต้องอาศัยความชำนาญของ Barista อย่างมากทั้งความนิ่งของมือ สมาธิ การจับจังหวะ โดยการเทนมลงในถ้วยกาแฟที่มี Espresso อยู่ในถ้วย ด้วยลักษณะของการส่ายข้อมืออย่างเป็นจังหวะจนเกิดเป็นลวดลายต่างๆ  ลายที่เกิดการจากเทแบบ Free pour จะมี 2 ลายที่เป็นที่นิยม คือ Rosetta หรือลายใบไม้ และ Heart หรือลายหัวใจ


2. แบบ Drag หรือการลาก

เป็นเทคนิคที่ใช้ การลาก การเขี่ย การวาด การหยอด เพื่อสร้างลายขึ้นมา เป็นเทคนิคที่ง่าย ใครๆ ก็สามารถทำได้ โดยที่ไม่ต้องอาศัยเทคนิคมากๆ อุปกรณ์ที่จำเป็นนอกจาก Espresso และนมคือ chocolate หรือ caramel และอุปกรณ์สำหรับลากเช่น แท่งคอกเทล หรือไม้จิ้มฟันก็ได้3. แบบผสม เป็นเทคนิคที่นำทั้งการเทและการลากมาผสมเข้าด้วยกัน เป็นเทคนิคที่ใช้ในการรสร้างลายที่ยากขึ้น การทำเทคนิคนี้ต้องอาศัยทั้งเทคนิคและความเร็ว เพราะต้องแข่งกับเวลา เพื่อให้กาแฟยังร้อนอยู่ก่อนเสิร์ฟถึงมือลูกค้า


ขั้นตอนการทำ ลาเต้อาร์ต (Latte Art)

1. ชงกาแฟ Espresso 1 shot และเทลงบนแก้วที่อุ่นเตรียมไว้แล้ว
2. ทำฟองนมในอุปกรณ์สำหรับใส่นมเพื่อทำการเท โดยพยายามปรับอากาศให้เข้าไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ฟองนมที่มีขนาดเล็ก
3. ก่อนเริ่มต้นการเทให้เขย่าฟองนมเล็กน้อยเพื่อให้ฟองนมเข้ากันดี และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดฟองนมขนาดใหญ่ ที่จะทำลวดลายที่ออกมาไม่ค่อยสวย
4. เริ่มขั้นตอนการเทโดยถือแก้วให้เอียงเล็กน้อยเพื่อให้ ลวดลายที่ต้องการอยู่ตรงกลางของแก้วพอดี
5. ทำการเทนมลงไปบริเวณตรงกลางของแก้วจนเกือบเต็มแก้ว
6. จากนั้นเทนมย้อนกลับไปอีกทิศทางพร้อมกับส่ายมือ เพื่อให้เกิดลวดลายไปจนเกือบถึงขอบของแก้ว
7. สุดท้ายเทนมย้อนกลับมาเพื่อทำให้ใบของใบไม้อยู่ในทิศทางเดียวกัน และทำเป็นก้านของใบไม้ด้วย เป็นอันเสร็จแล้วเรียบร้อย



ขอขอบคุณ : https://sites.google.com/site/baristacoffeetory

เทคนิคการเป่าโฟมนม กับเครื่องชงกาแฟ (Coffee Machine) หรือเอสเพรสโซ (Espresso)


  1. ใช้ถ้วยสเตนเลสที่เย็นปานกลาง นมที่ใช้ควรอยู่ในอุณหภูมิ 4 อาศาเซลเซียส
  2. เทนมลงในถ้วยสเตนเลสประมาณ 1/3 ของภาชนะ
  3. กดสวิตช์เปิดท่อไอน้ำ (Stream) ของเครื่องชงกาแฟทุกครั้งก่อนเป่าโฟมนม (เพื่อไล่น้ำที่ยังตกค้างในท่อเป่าโฟมนม และไล่อากาศให้สม่ำเสมอ)
  4. กดสวิตช์เปิดเครื่องพร้อมเปิดวาล์ของท่อเป่าฟองนมเล็กน้อย
  5. นำถ้วยสเตนเลสที่เตรียมไว้ใส่ในท่อเป่าฟองนม โดยใช้มือจับถ้วยสเตนเลสในลักษณะ 90 องศา ประมาณ 30 วินาที จากนั้นใช้มืออีกข้างเปิดวาล์วของท่อเป่าฟองนมให้แรงดันแรงขึ้นเรื่อยๆ แล้วเอียงถ้วยสเตนเลสในลักษณะ 45 องศาอีกครั้ง สังเกตจากฟองนมที่เนียนและความร้อนที่จับถ้วยสเตนเลส
  6. เปิดท่อวาล์วเป่าฟองนม
  7. ทำการไล่อากาศอีกครั้งเพื่อให้ได้โฟมนมที่เนียน โดยใช้มือจับถ้วยสเตนเลสกระแทกบนผ้าที่รองอยู่บนโต๊ะเบาๆ พร้อมรินใส่ถ้วยเอสเพรสโซ



นม

นมเป็นส่วนผสมที่สำคัญสำหรับเครื่องดื่มเอสเพรสโซมีอยุ่ 2 ชนิด คือ นมร้อนและโฟมนม


นมร้อน 

เกิดจากการได้รับความร้อน (Stream) จากท่อเป่าของเครื่องกาแฟอุณหภูมิที่สำคัญในการเป่านมร้อนควรอยู่ในอุณหภูมิ 60 อาศาเซลเซียส นมร้อนใช้สำหรับเติมลงในถ้วยรวมกับเอสเพรสโซ ซึ่งได้กาแฟคาปูชิโนและลาเต้


โฟมนม

ได้รับผลจากการอัดอากาศเข้าไป (Stream) ในอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดโฟมนมที่เนียน ลักษณะเป็นโฟมละเอียดและฟูเบา มีรสชาติหอมมันเมื่อนำไปเป็นส่วนผสมของกาแฟร้อน ถ้าเป่าโฟมนมร้อนเกิน 60 องศาเซลเซียส (จุดเดือด) จะมีผลทำให้ไม่เกิดโฟมนม เพราะไขมันนมเกิดการแยกตัว โฟมนมที่ได้จะมีลักษณะเหมือนฟองสบู่


เทคนิคการทำวิปปิ้งครีม



  1. เตรียมหม้อสเตนเลสพร้อมหัวตีครีมแช่เย็นสัก 30 นาที ก่อนที่จะตีครีม
  2. เทวิปปิ้งครีมสำหรับที่จะตีลงในหม้อสเตนเลสที่เตรียมไว้ อาจเพิ่มน้ำเชื่อมหรือน้ำหวานกลิ่นอื่น ๆ ตามต้องการใส่ลงไปในปริมาณที่พอเหมาะ
  3. เริ่มตีครีมโดยปรับเกียร์ความเร็วของเครื่องตีให้มีความเร็วระดับปานกลาง แล้วค่อยปรับความเร็วสูงสุด
  4. ทำการตีครีมต่อเนื่อง สังเกตจากเนื้อครีมฟูตามที่เราต้องการ จากนั้นปรับระดับความเร็วของเครื่องตีให้ต่ำประมาณ 1-2 นาที เพื่อไล่อากาศ จะทำให้เนื้อครีมแน่นและสวยงาม เมื่อได้วิปปิ้งครีมตามที่ต้องการ นาไปใส่ถุงบีบเพื่อตกแต่งหน้าของกาแฟ

ชนิดกาแฟ

เอสเพรสโซ(Espresso)

คือกาแฟที่รสแก่และเข้ม ซึ่งมีวิธีการชงโดยการใช้แรงอัดไอน้ำหรือน้ำร้อนผ่านเมล็ดกาแฟคั่วที่บดละเอียด ที่มาของชื่อเอสเพรสโซมาจาก คำภาษาอิตาลี "Espresso" แปลว่าเร่งด่วน เอสเพรสโซเป็นกาแฟที่นิยมมากที่สุดในแถบประเทศยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส



คาปูชิโน (Cappuccino)

เป็นหนึ่งในเครื่องดืมประเภทกาแฟซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิตาลี คาปูชิโนมีส่วนประกอบหลักคือเอสเพรสโซและนม การชงคาปูชิโนโดยส่วนใหญ่มักมีอัตราส่วนของเอสเพรสโซ 1/3 ส่วน ผสมกับนมสตรีม (นมร้อนผ่านไอน้ำ) 1/3 ส่วน และนมตีเป็นโฟมละเอียด 1/3 ส่วน ลอยอยู่ด้านบน นอกจากนั้นอาจโรยหน้าด้วยผงชินนามอนหรือผงโกโก้เล็กน้อยตามความชอบ ในประเทศอิตาลีผู้คนมักดื่มคาปูชิโนเป็นอาหารเช้าโดยเฉพาะ โดยอาจมีขนมปังแผ่นประกอบ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวิถีชีวิตของชาวอิตาลีมักไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้าแบบเป็นกิจจะลักษณะ


ลาเต้ มาเกียโต้ (Latte Macchiato)

ซึ่งประกอบด้วยนมเป็นส่วนใหญ่และนมตีโฟมเพียงเล็กน้อย ลาเต้ ภาษาอิตาลีแปลว่านมส่วนในประเทศอื่นจะหมายถึงกาแฟลาเต้ หรือเครื่องดื่มกาแฟที่เตรียมด้วยนมร้อนโดยการเทเอสเพรสโซ 1/3 ส่วน และนมร้อนอีก 2/3 ส่วน ลงในถ้วยพร้อมๆ กันและจะหยอดโฟมนมหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ทับข้างบน ในประเทศอิตาลีกาแฟลาเต้นี้รู้จักกันในชื่อของ Caffe e latte ซึ่งหมายถึงกาแฟกับนม ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาฝรั่งเศส คำว่า Cafe au lait กาแฟลาเต้เริ่มเป็นทีนิยมนอกประเทศอิตาลีในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980


อเมริกาโนหรือคาเฟ่ อเมริกาโน (cafe Americano)

คือกาแฟชนิดหนึ่งซึ่งมีวิธีการชงโดยการเติมน้ำร้อนผสมลงในเอสเพรสโซ การเจือจางเอสเพรสโซซึ่งเป็นกาแฟที่เข้มข้นด้วยน้ำร้อน ทำให้อเมริกาโนมีความแก่พอ ๆ กับกาแฟธรรมดา แต่มีกลิ่นและรสชาติที่เข้มข้นจากเอสเพรสโซ อเมริกาโนเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกาแฟดำ แต่ไม่แก่และหนักถึงขั้นเอสเพรสโซ


กาแฟ มอคคา (coffee Mocha)

เป็นเครื่องดื่มที่เอสเพรสโซเป็นส่วนผสมหลักโดยเติมนมร้อนและน้ำเชื่อมช็อกโกแลตลงไปเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้น ก่อนจะปิดหน้าด้วยฟองนม นอกจากนี้มอคคายังหมายถึงเครื่องดืมกาแฟซึ่งมีเอสเพรสโซและโกโก้เป็นส่วนผสมประกอบ เสิร์ฟท้ังแบบร้อนและแบบเย็น




 

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อเสียจากการดื่มกาแฟ

ข้อเสียจากการดื่มกาแฟ


  • เพียงถ้วยเดียวก็สามารถเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้
  • หลายถ้วยต่อวัน สามารถลดความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายได้ โดยเฉพาะสตรี
  • แคลเซี่ยมในร่างกายถูกชะล้างด้วยคาเฟอืน เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนได้
  • คาเฟอีนจะแทรกแซงการหลับด้วยคลื่นรบกวนช้าๆ แต่ว่าลึกๆ ซึ่งทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
  • คาเฟอีนทำให้อาการวิตกกังวล หรือตื่นตกใจแย่ลง


     กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ชาวโลกปัจจุบันรู้จักและนิยมดื่มกันมากที่สุด และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของโลก และยังมีบทบาทต่อสังคมมนุษย์
อย่างสำนวนไทยที่ว่า สภากาแฟ คอฟฟี่เบรก และกาแฟคงจะอยู่คู่กับมนุษย์และสังคมไทยไปอีกนาน ขณะที่มีคนดื่มกาแฟมากขึ้น

** อย่างไรก็ตามการดื่มกาแฟนั้นก็มีทั้งประโยชน์และโทษหากดื่มมากเกินไป อาจเป็นสาเหตุเกิดโรคหัวใจได้ ลองถามตัวเองซิคะว่าเราดื่มกาแฟมากไปหรือไม่ต่อหนึ่งวัน

ขอบคุณข้อมูลจาก:www.lib.ru.ac.th

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประโยช์จากการดื่มกาแฟ

ประโยช์จากการดื่มกาแฟ 

    
     คนเรารู้จัก "กาแฟ" มาเป็นระยะเวลากว่าพันปีแล้วจวบจนปัจจุบันกาแฟนับเป็นเครื่องดื่มยอดนิยม และนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก แต่จะมีอีกกี่คนที่ทราบว่านอกจากรสละมุนลึกล้ำแล้ว หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม "คาเฟอีน" ในกาแฟมีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจในหลายด้านด้วยกัน

     คาเฟอีนกระตุ้นให้สมองตื่นตัว ซึ่งจะเร่งความเร็วของการประมวลผลข้อมูลในสมองและย่นระยะเวลาในการตอบสนอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ต้องการสมาธิ การใช้เหตุผลและความจำ คาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะ ช่วยลดความหงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้าและความเครียดได้ ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกพึงพอใจและมีความสุข

     ด้านโภชนาการ การดื่มกาแฟช่วยให้ร่างกายได้รับของเหลวเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน อีกทั้งเนื้อกาแฟยังมี แร่ธาตุไนแทซเซียมและไนอาซีน ซึ่งเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยว่าคาเฟอีน ช่วยกระตุ้นการใช้พลังงานของร่างกาย ทำให้ไขมันสลายตัวเพิ่มขึ้น จึงอาจดื่มกาแฟเป็นเครื่องดื่มในการลดน้ำหนัก และเนื่องจากคาเฟอีนและสารอื่นที่มีอยู่ในกาแฟช่วยกระตุ้นการหลั่งกรดและน้ำย่อย กาแฟจึงช่วยในการย่อยอาหาร เป็นเหตุให้คนจำนวนมากดื่มกาแฟหลังอาหารแต่ละมื้อ


     จากการวิจัยทางการแพทย์สหรัฐฯ โดยดร.จี เวปสเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและคณะจากศูนย์การแพทย์นครฮอนโนลูลู สหรัฐฯ พบว่าผู้ชายที่ไม่ดื่มกาแฟมีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคพาคิสัมากกว่าพวกที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 5 ถ้วย ถึง 5 เท่า ผลกระทบของคาเฟอีนต่อเส้นเลือดมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์ เพราะคาเฟอีนช่วยไปขยายหลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เส้นเลือดแดงบริเวณที่ศีรษะหดตัว ซึ่งช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้ จากการศึกษาของนายแพทย์ วินเซนต์ ทูบิโอโลแห่งศูนย์การแพทย์ยูซีแอลเออ-ฮาร์เบอร์ ได้ตั้งทฤษฎีใหม่ว่า การรับคาเฟอีนจำนวน 400 มิลลิกรัมต่อวันอาจช่วยลดอาการแพ้เกสรดอกไม้ได้

     จากรายงานการวิจัยในกลุ่มสตรีที่ดื่มกาแฟไม่เกิน 5 ถ้วยต่อวันพบว่า กาแฟไม่มีส่วนทำให้เป็นการเสี่ยงต่อการเป็นโรคของหัวใจมากขึ้น แม้ในรายที่มีปัญหาเส้นเลือดอุดตันหรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟทุกวัน วันละหกถ้วยขึ้นไปก็ไม่มีอัตราหัวใจสูงกว่าปกติ และจากการสำรวจหลายครั้ง รวมทั้งการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าผู้ดื่มกาแฟมีอัตร่การเป็นมะเร็งเต้านมต่ำกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ ส่วนการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอสตันพบว่า คนไข้ที่ดื่มกาแฟอย่างน้องห้าถ้วยต่อวัน มีความเสี่ยงเป้นมะเร็งลำไส้ต่ำกว่ากลุ่มอื่นถึงร้อยละ 40

     กาแฟยังกลายเป็นข่าวดีสำหรับผู้ชายทั่วโลก เมื่อดร.ดาร์ซี โรแบร์โตลิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชวิทยาของมหาวิทยาลัยริโอ เดอจาเนโร ในบราซิล เปิดเผยว่า ผู้ที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศอันเนื่องมาจากการดื่มสุราการเสพยา ภาวะซึมเศร้าและอายุขัย สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการดื่มกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน


สรุปคุณประโยชน์ของ กาแฟ มีดั่งนี้ คือ

1. ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B
ี      มีผู้วิจัยพิสูจน์แล้วว่า กาแฟมีประโยชน์ในการป้องกัน โรคดังกล่าว

2. ป้องกันโรคหอบ
      โรคนี้ คือ อาการภูมิแพ้ชนิดหนึ่งโดยทั่วไปเมื่อมีประสาทสำรองไม่ถูกกระตุ้นจะไม่มีอาการหอบเกิดขึ้นง่ายๆแต่ถ้าหากประสาทสัมผัสสำรองถูกกระตุ้น จะเกิดอาการหอบทันทีและคาเฟอีนในกาแฟจะระงับการตึงเครียดของประสาทสัมผัสสำรอง ลดการเกิดโรคหอบ

3. ลดการเกิดโรคตับจากสุรา
      ตามที่นักวิชาการสำรวจแล้วพบว่า กาแฟช่วยลดผลร้ายที่จะมีต่อตับ แต่ยังต้องวิจัยต่อไปว่าสารใดที่มีประโยชน์ดังกล่าว และมีผลต่อสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งหรือไม่ นอกจากแอลกอฮอล์

4. ป้องกันมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งในช่องปาก
      จากผลการทดลองจริง พบว่ากาแฟมีประสิทธิภาพป้องกันโรคขั้นต้นโดยเฉพาะในคาเฟอีนมีกรดอะซิติกที่ช่วยป้องกันโรค

5. ขับไล่ความชรา
      ออกซิเจนเป็นสารที่ร่างกายต้องการมากก็จริงแต่ถ้ามีออกซิเจนมากไปทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงและแก่เร็วโดยเฉพาะกาแฟที่เข้มข้นจะทำให้ออกไซด์แตกตัวลดการเกิดมะเร็งได้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารในร่างกาย

6. กาแฟลดอัตราคอเลส-เตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ
      ในกาแฟมีนิโคติน แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกับในบุหรี่ แต่เป็นวิตามิน Bรวมชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดจึงป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว


ขอบคุณข้อมูลจาก: http://student.nu.ac.th/

ประวัติกาแฟจากอดีตถึงปัจจุบัน

ประวัติกาแฟจากอดีตถึงปัจจุบัน



     แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศอาราเบียน หรือประเทศอาหรับ ตะวันออกกลาง สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนักจนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบียคนหนึ่งชื่อ คาลดี (Kaldi) นำแพะออกไปเลี้ยงตามปกติ แพะได้กินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งเข้าไปแล้วเกิดความคึกคะนองผิดปกติ จึงได้นำเรื่องไปเล่าให้พระมุสลิมองค์หนึ่งฟัง พระองค์นั้นจึงได้นำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มในน้ำร้อนดื่มเห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป

     ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟแพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบีย เข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส

     ชาวอาระเบียเรียกพืชนี้ว่า “คะวาฮ์” (Kawah) หรือ “คะเวฮ์” (Kaweh) ซึ่งแปลว่าพลัง (strength) หรือความกระปรี้กระเปร่า (vigor) ชาวตุรกีเรียกว่า “คะเวฮ์” (Kaveh) ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆของโลก เช่น คัฟฟี (Koffee) ในอังกฤษเรียกว่า “คอฟฟี” (coffee) อันเป็นชื่อที่รู้จักและใช้ในปัจจุบันนี้ เมื่อมาถึงประเทศไทยคนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุด...

     กาแฟเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก กาแฟเกือบทุกพันธุ์มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปแอฟริกา แต่ที่ปลูกกันแพร่หลายในเชิงธุรกิจมีเพียง 2 พันธุ์ คือ กาแฟ อาราบิก้า ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea arabica L. และ กาแฟ โรบัสต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea canephora Pierre ผลผลิตของเมล็ดกาแฟในโลกมีมากว่าหกล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นเมล็ดกาแฟ อาราบิก้ามากกว่า 70% ที่เหลือเป็นเมล็ดกาแฟ โรบัสต้าและพันธุ์อื่น ๆ

     กาแฟ อาราบิก้ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนพื้นที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย (อะบิสซีเนีย เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6-9 องศาเหนือ แต่อาจพบต้นกาแฟอาราบิก้า ตรงช่วงรอยต่อบนภูเขาระหว่างเอธิโอเปียกับซูดาน และเอธิโอเปียกับเคนยา ในเอธิโอเปียสามารถพบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญงอกงามอยู่ทั่วไป ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่บนพื้นที่สูง ระหว่าง 1,370 -1,830 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพอากาศในแถบนั้น ค่อนข้างหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี อยู่ระหว่าง 15-24 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,900 มิลลิเมตร สภาพดินเป็นดินร่วนสีแดง มีหน้าดินลึก สภาพอากาศโดยทั่วไปในแถบนี้ มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งมีพร้อมๆ กับฤดูหนาว

      ในยุคเริ่มต้นของกาแฟอาราบิก้า ประวัติและความเป็นมาค่อนข้างสับสน เพราะมีผู้พบเห็นต้นกาแฟอาราบิก้าเจริญงอกงามอยู่ทั่วไปใต้ต้นอินทผาลัม แถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่จากการศึกษาและสำรวจ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญในด้านกาแฟอาราบิก้าของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมมือกัน ภายใต้ความช่วยเหลือขององค์กรระหว่างประเทศ สรุปว่า ในสมัยโบราณ ชาวเขาบางเผ่า ที่อาศัยอยู่บนที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย ได้อพยพขึ้นเหนือมายังตะวันออกกลาง ได้นำเมล็ดกาแฟติดตัวมาด้วย และได้ปลูกไว้ตามเชิงเขา ชาวเขาเหล่านี้ ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้าผสมกับไขสัตว์ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ใช้เป็นอาหารเวลาเดินทางไกล

     ต่อมาเมื่อชาวเปอร์เซียเรืองอำนาจ ได้ขยายอาณาจักรมาสู่ตะวันออกกลาง ได้ขับไล่ชาวเขาเหล่านี้กลับสู่ป่าเอธิโอเปียดังเดิม ส่วนต้นกาแฟอาราบิก้ายังคงเจริญงอกงาม และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติต่อๆกันมาแถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่มีบางกระแสเชื่อว่า ในศตวรรษที่ 15 นักเดินทางชาวอิสลามได้นำต้นกาแฟอาราบิก้าจากเอธิโอเปียมาปลูกไว้ ที่อาราเบีย ชาวดัชท์ได้เดินทางมายังอาราเบียในศตวรรษที่ 16 ได้พบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญอยู่ทั่วไป จึงนำเมล็ดกาแฟไปเพาะและปลูกไว้ ตามแหล่งอื่นๆของโลก

     ในศตวรรษที่ 17 นักแสวงบุญอิสลาม ชาวอินเดีย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากประเทศเยเมน มาปลูกไว้ตามเชิงเขาของรัฐคาร์นาตากา ในประเทศอินเดีย และชาวฝรั่งเศสได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า จากอาราเบียไปปลูกที่เมืองเบอร์บอง เกาะรี-ยูเนียน กาแฟอาราบิก้าจากแหล่งปลูกเหล่านี้ ได้แพร่กระจากไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลามากกว่า 2 ศตวรรษ

     ประเทศที่ปลูกและให้ผลผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ได้แก่ บราซิล รองลงมา คือ โคลัมเบีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ
   
     ประเทศไทย มีผลผลิตกาแฟประมาณ 80,000 – 100,000 ตัน / ปี สัดส่วนการบริโภคภายในประเทศประมาณ 30,000 ตัน และอีก 70,000 ตันส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา , แคนาดา , สเปน , เยอรมัน , อิตาลี , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น ฯลฯ *ปีพ.ศ. 2540 ประเทศไทยสามารถส่งออกกาแฟได้จำนวน 73,286 ตัน ( * ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ ตัวเลขการส่งออกกาแฟตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2540 )

     ปัจจุบันกาแฟ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมหลัก และมีการซื้อขาย (Trade) กาแฟในอีกหลากหลายรูปแบบ (Commodity) เป็นอันดับสองรองจากปิโตรเลียม (Petroleum)

     สำหรับการเดินทางของกาแฟมายังเมืองไทยนั้น ในปี 2447 โดยนายดีหมุน ผู้นับถือศาสนา อิสลาม และนำเมล็ดกาแฟโรบัสต้า จากเมืองเมกกะวาอุอาระเบีย มาปลูกที่ตำบนโตนด อำเภอสะบ้าย้อยหัวเมือง สงขลา ส่วนสายพันธ์กาแฟอราบิก้า นั้นเข้ามาในปี2549 นำมาปลูกทางตอนเหนือของประเทศไทย